ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สนธิสัญญาเรโอเดจาเนโร

รีโอเดจาเนโร (โปรตุเกสRio de Janeiroเสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈriːoʊ deɪ dʒəˈnɛəroʊ/) หรือ รีอูจีฌาเนย์รู (เสียงอ่านภาษาโปรตุเกสสำเนียงบราซิล: [ˈʁi.u dʒi ʒaˈnejɾu]) มีความหมายว่า "แม่น้ำเดือนมกราคม") หรือมักเรียกโดยย่อว่า รีโอ (Rio) เป็นเมืองหลวงของรัฐรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล โดยเป็นเมืองที่กล่าวขานกันว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นที่รู้จักในด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายหาดกอปากาบานา (Copacabana) และอีปาเนมา (Ipanema) เทศกาลรื่นเริงประจำปีของบราซิล และรูปปั้นพระเยซูขนาดใหญ่ที่รู้จักในชื่อ กริชตูเรเดงโตร์ บนยอดเขากอร์โกวาดู
รีโอเดจาเนโรตั้งอยู่ที่ละติจูด 22 องศา 54 ลิปดาใต้ และลองจิจูด 43 องศา 14 ลิปดาตะวันตก ((6,150,000) 22°54′S 43°14′W) รีโอมีประชากรประมาณ 6,150,000 (พ.ศ. 2547) และพื้นที่ 1,256 กม² (485 ไมล์²) และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศบราซิลรองจากเซาเปาลู (São Paulo) รีโอเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศบราซิล ก่อนที่เมืองบราซิเลียจะเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)
รีโอเดจาเนโรได้รับเลือกจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้เป็นเมืองเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 31 ประจำปีคริสต์ศักราช 2016 (พ.ศ. 2559) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในเขตทวีปอเมริกาใต้นับตั้งแต่มีการริเริ่มแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นต้นมา


สนธิสัญญาRio (รีโอเดจาเนโร)

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดก๊าซซึ่งไปเพิ่มปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect) ในชั้นบรรยากาศ ที่ทำให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผลของก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวจะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” ทั้งที่ผิวโลกและในบรรยากาศ เป็นเหตุให้โลกร้อนขึ้นและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นและท่วมบริเวณที่ต่ำ ชายฝั่งทะเล ภูมิอากาศจะแปรเปลี่ยนไปด้วย อุณหภูมิที่สูงขึ้นดังกล่าวจะส่งผลกระทบระบบนิเวศทางธรรมชาติและต่อมวลมนุษย์ด้วย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนายังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำแต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสังคมและการพัฒนาของตน ประเทศต่าง ๆ จึงควรร่วมมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่อากาศและกำจัดก๊าซบางชนิดให้ลดลง
เนื่องจากมีความไม่แน่นอนหลายประการในการคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับช่วงเวลา ปริมาณ และรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง และด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก ความร่วมมือของรัฐทั้งปวงเท่าที่จะเป็นไปได้และการมีส่วนร่วมของรัฐเหล่านั้นในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับระหว่างประเทศตามความรับผิดชอบและขีดความสามารถของตนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกประเทศจึงควรให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความสามารถของแหล่งรองรับในประเทศ รายงานเกี่ยวกับแผนการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนการจัดการและอนุรักษ์แหล่งรองรับก๊าซเรือนกระจก วางแผนรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประเทศที่พัฒนาแล้วควรช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพื่อให้ประเทศสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
จากปัญหาดังกล่าวองค์การสหประชาชาติโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อเตรียมมาตรการและกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี ค.ศ. 1990 IPCC ได้จัดทำรายงานที่มีข้อสรุปยืนยันว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจริง ประกอบกับในปีนั้นได้มีการจัดการประชุม Second World Climate Conference ขึ้น จึงทำให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของนานาประเทศ[1] จึงริเริ่มและดำเนินการเพื่อจัดทำกรอบอนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งได้สานต่อหลักการสำคัญ ๆ ของปฏิญญากรุงสต๊อกโฮล์มว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ค.ศ. 1972 เช่น การรับรองสิทธิอธิปไตยของรัฐตามกฎบัตรสหประชาชาติและตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของตน และกำหนดให้รัฐต้องมีความรับผิดชอบที่จะทำให้แน่ใจว่ากิจกรรมภายในเขตอำนาจหรือการควบคุมของตนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่นหรือของบริเวณที่อยู่เลยออกไปจากเขตอำนาจแห่งชาติของตน[2] และการปล่อยสารพิษหรือสารอื่นๆ และความร้อนในปริมาณหรือความหนาแน่นที่เกินกว่าขีดความสามารถของสิ่งแวดล้อมที่จะจัดการได้ ต้องหยุดกระทำเพื่อให้แน่ใจว่าความเสียหายร้ายแรงและที่ไม่สามารถแก้ไขได้จะไม่เกิดต่อระบบนิเวศ[3] เป็นต้น
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 1992 (United Nations Framework Convention on Climate Change, 1992 : UNFCCC) ได้รับการยอมรับในการประชุมที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และเปิดให้ลงนามในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development) หรือการประชุมสุดยอดว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่กรุงริโอ เด จาเนโร (Rio de Janeiro Earth Summit) สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2537
ประเทศไทยได้ลงนามในกรอบอนุสัญญา ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และตามข้อ 23 วรรค 2 ของอนุสัญญา ฯ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับต่อประเทศไทยเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันที่มอบสัตยาบันสาร ดังนั้น อนุสัญญา ฯ จึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 [4]สถานะของประเทศไทยตามอนุสัญญาฉบับนี้อยู่ในฐานะกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non-Annex I) ปัจจุบันอนุสัญญาฯ นี้มีประเทศภาคีสมาชิกจำนวน 192 ประเทศ[5]--------------------------------------

Cr. วิกิพีเดีย

[1] “ที่มาของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ,” สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557, จาก http://www.eppo.go.th/ccep/unfccc_intro.html

[2] หลักการ 21

[3] หลักการ 6

[4] ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จาก

http://reo06.mnre.go.th/newweb/images/file/report2555/carbon_market

http://www.tgo.or.th/download/Article/KM/km_unfccc.pdf

http://www.tgo.or.th/download/publication/CI/CI_Summary_25102012.pdf

[5] ข้อมูล ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จาก

http://unfccc.int/parties_and_observers/items/2704.php

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงาน IS1

                                         โครงงาน IS1                      เรื่อง       การเรียนภาษาที่สองให้ประสบความสำเร็จ                                                                    จัดทำโดย                                                   นส. สานันทินี แก้วพวง เลขที่ 10                                                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่...

สัตว์ประจำชาติ

สัตว์ประจำชาติ           สืบเนื่องจากชาวฝรั่งเศสทุกวันนี้ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชาวโกลัวส์ (les Gaulois) แห่ง เผ่าโกล (Gaule) ผู้มี "ไก่" เป็นสัญลักษณ์ ทั้งนี้จากการเล่นคำ Gaulois เมื่อออกเสียงเป็นภาษาละติน เป็นคำว่า Gallus (กัลลุส) แปลว่า ไก่ตัวผู้           อดีตกาลชนกลุ่มนี้ย้ายถิ่นฐานไปหลายแห่ง แต่ในที่สุดพวกเขาตัดสินใจหยุดและตั้งถิ่นฐานถาวรในบริเวณที่เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ขณะที่ชนชาติที่ทรงอำนาจที่สุดในเวลานั้นคือชาวโรมันแห่งโรม ความยิ่งใหญ่ทำให้ชนชาตินี้มั่นใจว่าตนเป็นชนชั้นปกครอง และมีอารยธรรมสูงกว่าชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ที่ยังไม่สามารถรวมกันเป็นอาณาจักรและมีระบบการปกครองแบบชาวโรมันได้ ประกอบกับมีกองทัพขนาดใหญ่ อาวุธทันสมัยที่สุด ชาวโรมันจึงครอบครองดินแดนทั่วทวีปยุโรปได้ และสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่เคยมีชนกลุ่มใดทำได้มาก่อน ทั้งนี้ ภาษาสากลของยุโรปยามนั้นคือภาษาละติน ที่ชนเผ่าใต้อาณัติทุกกลุ่มต้องสื่อสารได้           ชาวโรมันนี่เองที่เรียกพวก...

แบบจำลองอะตอม

แบบจำลองอะตอม วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้ แบบจำลองอะตอมของดอลตัน แบบจำลองอะตอมของทอมสัน แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอรด์ แบบจำลองอะตอมของโบร์ แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก แบบจำลองอะตอมของดอลตัน เป็น "ทรงกลมตันมีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้" ทฤษฎีอะตอมของจอห์นดอลตัน 1. สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า "อะตอม" 2. อะตอมจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ 3. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ 4. อะตอมของธาตุต่างกันจะมีสมบัติต่างกัน 5. ธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ โดยมีอัตราส่วนการรวมตัวเป็นตัวเลขอย่างง่าย เช่น CO CO2 แบบจำลองอะตอมของทอมสัน 1. อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม 2. อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ อนุภาคโปรตรอนมีประจุเป็นบวก 3. อะตอมจะมีโปรตรอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า เพราะ มีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด "อะตอมจะประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมตัวกันอยู่อย่างหน...