โครงงาน IS1
เรื่อง การเรียนภาษาที่สองให้ประสบความสำเร็จ
จัดทำโดย
นส. สานันทินี แก้วพวง เลขที่ 10
นส. สานันทินี แก้วพวง เลขที่ 10
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7
อาจาร์ยที่ปรึกษาโครงงาน อาจาร์ย เกรียงไกร ทองชื่นจิต
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา IS1
กิตติกรรมประกาศ
รายงานจากการศึกษาค้นคว้าโดยอิสระโครงงานเรีบนภาษาทีืสองให้ประสบคความสำเร็จ โครงงานสำเร็จได้โดนความอนุเคราะห์จากบุคคลหลายท่าน ซึ่งไม่อาจนำมากล่าวได้ทั้งหมด ซึ่งผู้พระคุณท่านแรกผู้ัดทำขอกราบขอพระคุณ อาจาร์ย เกรียงไกร ทองชื่นจิต ครูผู้สอนและครูที่ปรึกษาที่ให้ความรู้คำแนะนำตลอดการทำโครงงาน ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
บทคัดย่อ
โครงงาน เรื่อง การเรียนภาษาที่สองให้ประสบความสำเร็จ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการ ศึกษาวิธีการเรียนภาษาที่สองให้ประสบความสำเร็จถึงแม้จะไม่ใช่ภาษาบ้านเกิด เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนไทยส่วนใหญ่หันมาสนใจภาษาที่สองกันมากขึ้น เปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอย่างไม่ย่อท้อ ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาค้นคว้าวิธีการเรียนภาษาที่สองให้ประสบความสำเร็จ ทั้งจากตัวผู้จัดทำเองและบุคคลอื่น จากโครงงานนี้ทำให้ผู้จัดทำได้ความรู้ใหม่รวมถึงได้เผยแพร่เคล็ดลับให้บุคคลอื่นประสบความสำเร็จด้วย
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
คนไทยส่วนใหญ่ ทางด้านการศึกษาของไทยมีหลักสูตรให้เรียนภาษาที่สองตั้งแต่เด็กๆ นั่นก็คือภาษาอังกฤษ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือเด็กไทยโตมาเป็นผู้ใหญ่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ใช้ภาษาอังกฤษกันไม่ได้ ทั้งที่เราเรียนกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะสังคมไทยของเรานั้น เน้นการสอนที่เอาไปสอบ แต่ไม่สอนการนำไปใช้ที่แท้จริง เลือกที่จะเน้นไวยากรณ์เพื่อใช้สอบ แต่ทุกคนขาดการเรียนการฝึกฝนด้านการ พูด ฟัง ที่สามารถได้เอามาใช้จริงๆ เพราะในบางกลุ่มก็มีการเหยียดการพูดหยาบคายกับคนที่พยายามฝึกการพูดการออกเสียง ทำให้เด็กไทยรวมถึงผู้ใหญ่หลายๆคนรู้สึกไม่ดีและไม่ทำต่อ เลยไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่ด้านสังคมเท่านั้นที่ทำให้เราไม่ประสบความสำเร็จ ตัวเราเองที่เป็นปัญหา ใครหลายๆคน ยังขาดการฝึกฝนและยังตั้งใจไม่มากพอ จึงทำให้การเรียนภาษาที่สองไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจ
ดังนั้นผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งตังผู้จัดทำและบุคคลอื่นๆ ผู้จัดทำจึงได้คิดค้นที่จะทำโครงงานนี้ขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนได้ประสบความเร็จในการเรียนภาษาที่สองหรือภาษาที่สาม เพื่อเป็นการต่อยอดในอนาคตในหลายๆด้าน
วัตถุประสงค์ การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญหลายๆคนในปัจจุบันมองข้ามก่
ารเรียนภาษาที่สองไปเพราะคิดว่ายากเกินความสามารถ การจัดทำโครงงานนี้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่กำลังจะเรียนภาษาที่สองให้สำเร็จ
ารเรียนภาษาที่สองไปเพราะคิดว่ายากเกินความสามารถ การจัดทำโครงงานนี้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่กำลังจะเรียนภาษาที่สองให้สำเร็จ
สมมุติฐาน
เอาวิธีที่ผู้จัดทำมาทดลองด้วยตัวเองก่อนที่จะนำมาเผยแพร่ว่าสามารถทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จได้
ขอบเขต
เน้นกลุ่มคนที่กำลังศึกษาภาษาที่สอง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เป็นแนวทางให้ผู้ที่กำลังศึกษาภาษาที่สอง
2.การทดลองเริ่มต้นจากตัวผู้จัดทำ ทำให้ผู้จัดได้ฝึกฝนจนประสบความสำเร็จ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก[3] ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน[4] มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ
บทที่ 3
ขั้นตอนการดำเนินงานเรียนภาษาใหม่ ให้เหมือน "เด็ก"
คุณผ่านช่วงเวลาเรียนภาษาที่ดีที่สุดมาแล้ว มันคือช่วงวัยเด็กที่ยังพูดไม่รู้ประสีประสา ได้ยินอะไรก็พูด สนใจอะไรก็ฟัง เห็นไอ้โน้นน่าขยี้ดีก็เอามือไปจับ ง่ายและตรงไปตรงมา
งานวิจัยจากรั้ว Harvard แนะนำว่า วัยที่ควรเรียนภาษาที่ 2 มากที่สุดคือ ช่วงอายุ 3 – 4 ขวบ มันเป็นช่วงที่สมองเปิดรับผัสสะทั้ง 6 อย่างกระตือรือร้น การมองเห็น ได้ยินเสียง รู้รสชาติ ผิวสัมผัส กลิ่น และการลงมือทำโดยสัญชาตญาณ
ไม่มีเด็กในวัยนี้แคร์เรื่องการเรียนภาษาเพื่อไปทำอะไร พวกเขามองมันเป็น Input ของธรรมชาติ และเด็กๆมีแนวโน้มจะซึมซับกลไกของภาษาจากการถ่ายทอดของมนุษย์ด้วยกันมากกว่า ‘สิ่งของที่ไร้ชีวิต’
เด็กเพียง 10 เดือน พยายามเรียนรู้ภาษาแรกจากการมองเห็น และการประสานสายตากับผู้พูด การจ้องที่สลับไปมา (Gaze shifting) ในเด็กวัยเรียนรู้เชื่อมโยงถึงคลังคำศัพท์ที่มีอยู่ในสมอง ดังนั้นอิทธิพลของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู และครูคนแรกๆ มีความสำคัญในการกระตุ้นภาวะการเรียนภาษาอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะเวลาเล่นสนุก ที่เด็กๆ จะมีการเรียนรู้ได้ดีกว่า
แต่จะมาพูดถึงอดีตกันอยู่ทำไม เพราะยังไงฉันก็ไม่มีทางกลับไปเป็นเด็กอีกแล้ว
ถูกต้อง! การเรียนภาษาที่ 2 ในวัยผู้ใหญ่ทำได้ยากกว่า แต่มันก็ไม่ได้แล้งกลยุทธ์เลยซะทีเดียว เมื่อรู้ว่าเด็กเรียนรู้โลกรอบตัวเขาอย่างไร มันก็ยิ่งจำเป็นที่คุณจะกระตุ้นความเป็นเด็กกลับมาอีก
ดูมือดูไม้ ภาษาท่าทาง คือของดี
มนุษย์ไม่ได้สื่อสารเหมือนหุ่นยนต์ไร้ชีวิตเสียหน่อย (ตรงกันข้าม หุ่นยนต์ต่างหากที่พยายามสื่อสารให้เหมือนมนุษย์มากขึ้น) ในชีวิตจริงเราไม่ได้สื่อสารด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว แต่การปฏิสัมพันธ์ล้วนมีภาษาท่าทาง ก็คือ ‘อวัจนภาษา’ (Non-verbal) มนุษย์สื่อสารกันโดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตา ที่ทำให้คุณเข้าใจบริบทการสื่อสารมากขึ้นที่เรียกกันว่า ‘Social Cues’ ทำไมพูดคำว่า Wonder แล้ว ตาเขาเบิกกว้างและหน้าผากย่นลง? ทำไมเวลาได้ยินคำว่า Beautiful แล้วใครๆ ก็ยิ้ม? แต่เวลาพูดอะไรที่นามธรรมมากๆ ถึงมือไม้ถึงออก?
สัญญาณเล็กๆ เหล่านี้กระตุ้นให้คุณเข้าใจรูปแบบการออกเสียงได้แม่นยำขึ้น สัมผัสได้ถึงเนื้อหาที่ซ่อนเร้นในวลี และพัฒนาโครงสร้างแกรมม่าให้แข็งแรงโดยไม่ต้องท่องจำ อย่าลืมทักษะการมองเห็นอันล้ำค่า มันช่วยคุณได้เสมอ
เปิดภาษาที่ 2 ทิ้งไว้ แม้จะไม่ได้ตั้งใจจะฟัง
อย่าตั้งใจไปหมดเสียทุกอย่าง “เอาล่ะ ฉันพร้อมจะเรียนแล้ว” พูดที่ไรก็เริ่มขี้เกียจต้องก้มไปเกาตาปลาทุกที แต่การเรียนแบบไม่ต้องตั้งใจเลย ทำให้คุณซึมซับภาษาอย่างที่คุณไม่รู้ตัว สมองน่าอัศจรรย์ใจกว่าที่คุณคาดไว้อีกเยอะ
การได้ยินภาษาที่ 2 แบบเป็นเสียง Background ทำให้คุณเรียนภาษาได้เร็วว่า แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งใจฟัง เอาหูคุณไปอยู่กับเสียงและภาษาใหม่ๆ ที่หลากหลาย ด้วยการเปิดข่าวภาษาต่างประเทศทิ้งไว้ หรือเปิดเพลงที่ชอบ
งานวิจัยในปี 2015 ตีพิมพ์ใน Journal of the Acoustical Society of America พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยที่เปิดเสียงภาษาอื่นๆ ทิ้งไว้ตลอดกิจกรรม มีแนวโน้มที่จะจดจำคำหรือวลีได้ดีกว่า
“สมองชื่นชอบความบังเอิญ มันเก็บเกี่ยวการเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว” Melissa Baese Berk นักวิจัยภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oregon กล่าว
เรียนปุ๊บ นอนปั๊บ
การนอนถูกกีดกันจากระบบการเรียนรู้มาตลอดในอดีต แต่ความก้าวหน้าทางประสาทวิทยา (Neuroscience) ยุคปัจจุบันทำลายกระบวนทัศน์เก่าๆ ลงอย่างสิ้นเชิง มีหลักฐานมากมายจากการตรวจด้วยคลื่นสมองที่ยืนยันว่า สมองคุณกำลังประมวลผลอยู่แม้จะอยู่ในช่วงการนอน และถูกจัดเป็น Subliminal learning ที่หลายๆ สถาบันกำลังจับตามอง หรือการนอนคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด?
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Cerebral Cortex โดย มูลนิธินักวิทยาศาสตร์สวิสเซอร์แลนด์ (Swiss National Science Foundation) พวกเขาพิสูจน์ว่าการนอนทำให้ผู้เรียนจดจำคำศัพท์ได้แม่นยำขึ้น โดยใช้นวัตกรรม EEG ตรวจคลื่นสมองขณะผู้เรียนทำการนอนหลับ พบกิจกรรมประสาทเกิดขึ้นบริเวณ Parietal lobe หรือส่วนประมวลการใช้ภาษาของมนุษย์
ช่วงเวลาเรียนภาษาใหม่ๆ คือเวลาก่อนนอน คุณควรอ่านหนังสือภาษาที่ 2 หรือฟังบทสนทนาที่น่าสนใจ เมื่อความง่วงเข้าคืบคลานก็อย่าไปฝืน (ยกเว้นเรื่องที่อ่านจะสนุกมาก) นอนเสียโดยดี ปล่อยให้สมองทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ คุณอาจตื่นมาร่ายบทกวีเชคสเปียร์คล่องปร๋อเลยก็ได้
อัดเสียงตัวเองไว้สิ แล้วพูดออกมาดังๆ แบบไม่ต้องคิด
คุณสามารถพัฒนาการออกเสียง (Pronunciation) โดยการบันทึกเสียงของตัวเอง แม้มันจะน่าเขินพิลึกที่ได้ยินเสียงตัวเองในมิติเสียงที่ไม่คุ้นเคย หรือการที่คุณได้ยินวลีน่าสนใจจากเพลง ภาพยนตร์ หรือเกมที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ พูดมันออกมาให้ตัวเองได้ยิน เลียนเสียงเหล่านั้นอีก พูดซ้ำๆ ระหว่างล้างจาน ถูบ้าน หรือทำกับข้าว จริงๆ มันก็ผ่อนคลายไม่น้อย และกระตุ้นให้คุณคุ้นเคยกับคำเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น
“พูดซ้ำๆ ทำเหมือนกับเด็กเลยเนอะ” ใช่ไง! เรากำลังกลับไปเรียนคล้ายเด็กอีกครั้ง แม้คุณจะถูกใครๆ แอบดูแคลนก็ตาม แต่คุณรู้ตัวเองอยู่เสมอ ว่ากำลังตามหาอะไร
ไทยคำ/อังกฤษคำ ไม่ได้กระแดะ แต่กำลังเรียนรู้
แม้คุณจะรู้สึกไม่สบอารมณ์กับคนที่พูด 2 ภาษาในประโยคเดียว แล้วรู้สึกถึงความดัดจริตอย่างไม่ถูกชะตา แต่ในงานวิจัยใหม่ๆ เผยให้เห็นว่า มันเป็นกลไกเรียนรู้ของผู้ที่สื่อสารแบบ 2 ภาษา (Bilingual) ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แม้ในกรณีเด็กๆ ที่อยู่ในช่วงวัยเรียนรู้ พวกเขาจะสื่อสารทำนองนี้เป็นชั่วครั้งชั่วคราว และเติบโตขึ้นเมื่อโครงสร้างทางภาษาทั้ง 2 แข็งแรงพอ
การเปลี่ยนคำที่ต้องการสื่อสารเป็นภาษาอื่นบ้างสลับไปมา ช่วยในการเรียกใช้คำได้รวดเร็วขึ้น อยู่ในบริบทประโยคที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ใช่เรื่องดีที่คุณจะสื่อสารด้วยเทคนิคนี้อย่างเป็นทางการหรือพูดในที่ชุมชน ฝึกฝนในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนสนิทของคุณน่าจะดีกว่า พวกเขาคงเข้าใจว่าคุณกำลังฝึกภาษาอยู่มากกว่าคนอื่นๆ ที่คอยตั้งแง่จับผิด
เอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นเลย
ไม่มีอะไรดีกว่าการที่เอาตัวคุณเองไปอยู่ในที่ที่ไม่คุ้นเคยเลยสักนิด และการสื่อสารเป็นเหมือนห่วงยางเส้นเดียวที่จะช่วยให้คุณมีชีวิตรอด สมองคุณจะตั้ง Priority การเรียนรู้มาเป็นอันดับแรก
ที่สำคัญคุณไม่ได้เรียนรู้แค่ภาษา แต่อาจเห็นโครงสร้างทางอารยธรรมที่ถักทอเป็นผืนผ้าขนาดมโหฬารซึ่งล้วนมีอิทธิพลต่อการสื่อสารในสังคมนั้นๆ อยู่กับเจ้าของภาษาจริงๆ หรือทำงานกับพวกเขา พัฒนามันเป็นมิตรภาพ พัฒนามันเป็นความรัก
กำแพงภาษาถูกทำลายลงพร้อมๆ กับกำแพงของหัวใจ จะมาอายอยู่ใย หากมันทำให้คุณบินไกลกว่าคนอื่น
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนของผู้จัดทำ ทำให้ได้การเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องและสามารภนำาใช้จนประสบความสำเร็จได้
บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
ทุกอย่างจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อผู้ศึกษามีความขยันหมั่นเพียรที่จะฝึกฝน และมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาภาษาที่สอง และผู้ศึกษาจะประสบความสำเร็จ
ข้อเสนอแนะ
ตามวิธีดังกล่าว ถ้าทำเป็นประจำสม่ำสมอก็จะประสบความสำเร็จ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น