ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

AEC

ข้อมูลอาเซียน ความรู้พื้นฐาน 10 ประเทศ กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)


มีสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ โดยข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิก กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ละประเทศมีดังนี้


1.ข้อมูล ประเทศไทย (THAILAND)
ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
เมืองหลวง ไทย: กรุงเทพมหานคร
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 65,124,716 คน
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ไทย:  ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong), ส้มตำ
สัตว์ประจำชาติ ไทย: ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ 
สกุลเงิน ไทย : บาท (Baht)
ดอกไม้ประจำชาติ : (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น

2.ข้อมูล ประเทศบรูไน (ฺBRUNEI)

                             ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน                         

เมืองหลวง บรูไน : บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (Bandar Seri Begawan)
พื้นที่ :  5,769 ตร.กม. ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้
ประชากร : มีจำนวนประชากรประมาณ 401,890 คน (น้อยที่สุดในอาเซียน) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติ มลายู รองลงมาคือ จีน และชนพื้นเมืองต่าง
ภาษา : ภาษามาเลย์เป็น ภาษาราชการ และใช้ภาษาอังกฤษกันทั่วไปทั้งในราชการ การค้า ภาษาจีนใช้กันในกลุ่มคนจีน
อาหารประจำชาติ บรูไน : อัมบูยัต เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน
สัตว์ประจำชาติ บรูไน : เสือโคร่ง
สกุลเงิน บรูไน : ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย

3.ข้อมูล ประเทศกัมพูชา (ฺCAMBODIA)

                                  ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน     
เมืองหลวง กัมพูชา : กรุงพนมเปญ
พื้นที่ :  180,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 14.7 ล้านคน ชาวเขมรร้อยละ 90 ชาวญวนร้อยละ 5 ชาวจีนร้อยละ 1 และอื่นๆ ร้อยละ 4
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
อาหารประจำชาติ กัมพูชา : อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย
สัตว์ประจำชาติ กัมพูชา : กูปรี หรือโคไพร เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
สกุลเงิน กัมพูชา : เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วยนะ

4.ข้อมูล ประเทศอินโดนีเซีย (ฺINDONESIA)

                               ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน       

เมืองหลวง อินโดนีเซีย : จาการ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
การเมืองการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
พื้นที่ :  1,904,433 ตารางกิโลเมตร (หรือ 10 เท่า ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประชากร 241 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ อินโดนีเซีย : กาโด กาโด (Gado Gado) ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช 
สัตว์ประจำชาติ อินโดนีเซีย : มังกรโคโมโด
สกุลเงิน อินโดนีเซีย : รูเปียห์ (Rupiah) 
ดอกไม้ประจำชาติ :  ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย

5.ข้อมูล ประเทศลาว (ฺLAOS)

                                  ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
เมืองหลวง ลาว : เวียงจันทร์
พื้นที่ : ประมาณ 236,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 6.5 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ลาว : ซุบไก่ (Chicken Soup)
สัตว์ประจำชาติ ลาว : ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง 
สกุลเงิน ลาว : กีบ (Kip)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย

6.ข้อมูล ประเทศมาเลเซีย (ฺMALAYSIA)


                                   ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
เมืองหลวง มาเลเซีย : กัวลาลัมเปอร์
พื้นที่ :  ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 30,018,242 ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
ภาษา : ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
อาหารประจำชาติ มาเลเซีย : นาซิเลอมัก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย  เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร, สะเต๊ะ เป็นอาหารที่รู้จักแพร่หลาย  นิยมใช้เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ย่างบนเตาถ่าน  รับประทานกับน้ำจิ้มรสชาติหวานหอมเผ็ด และเครื่องเคียง
สัตว์ประจำชาติ มาเลเซีย : เสือโคร่ง
สกุลเงิน มาเลเซีย : ริงกิต (Ringgit)
ดอกไม้ประจำชาติ :ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย

7.ข้อมูล ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (MYANMAR)


                                            ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
เมืองหลวง เมียนมาร์ : เนปีดอ (Naypyidaw)
พื้นที่ :  677,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68%, ไทใหญ่ 9%, กะเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 3.50%, จีน 2.50%, มอญ 2%, คะฉิ่น 1.50%, อินเดีย 1.25%, ชิน1%, คะยา 0.75% และอื่นๆ 4.50%
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ เมียนมาร์ : หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง
สัตว์ประจำชาติ เมียนมาร์ : เสือ
สกุลเงิน เมียนมาร์ : จ๊าด (Kyat) 
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ

8. ข้อมูล ประเทศฟิลิปปินส์ (PHILIPPINES)


                                  ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
เมืองหลวง ฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา
พื้นที่ :  300,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 103,000,000 คน
ภาษา : ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม ของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากหมู หรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบ หรือทอด และรับประทานกับข้าว
สัตว์ประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : กระบือ เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว
สกุลเงิน ฟิลิปปินส์ : เปโซ (Peso) 
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เช่นกัน



9.ข้อมูล ประเทศสิงคโปร์ (SINGAPORE)


                                      ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน
เมืองหลวง สิงคโปร์ : สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว
พื้นที่ :  697.1 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 5,469,700 คน ประกอบด้วยชาวจีน 75%, มาเลย์ 15%, อินเดีย 10%
ภาษา : ภาษาราชการ มี 4 ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาทมิฬ
อาหารประจำชาติ สิงคโปร์ : ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง
สัตว์ประจำชาติ สิงคโปร์ : สิงโต ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต
สกุลเงิน สิงคโปร์ : ดอลล่าร์สิงคโปร์ 
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524)

10.ข้อมูล ประเทศเวียดนาม (VIETNAM)


Flag of Vietnam.svg
เมืองหลวง เวียดนาม : กรุงฮานอย
พื้นที่ :  331,689 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 89,693,000 คน
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ เวียดนาม : แหนม หรือ ปอเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารยอดนิยมของเวียดนาม หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุด
ของประเทศแผ่นแป้งทำจากข้าวจ้าว นำมาห่อไส้ ซึ่งอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ รวมกับผักที่มีสรรพคุณ
เป็นยานานาชนิด
สัตว์ประจำชาติ เวียดนาม : กระบือ
สกุลเงิน เวียดนาม : ด่ง (Dong)
ดอกไม้ประจำชาติ : ป็นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ" เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อย ครั้ง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงาน IS1

                                         โครงงาน IS1                      เรื่อง       การเรียนภาษาที่สองให้ประสบความสำเร็จ                                                                    จัดทำโดย                                                   นส. สานันทินี แก้วพวง เลขที่ 10                                                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่...

สัตว์ประจำชาติ

สัตว์ประจำชาติ           สืบเนื่องจากชาวฝรั่งเศสทุกวันนี้ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชาวโกลัวส์ (les Gaulois) แห่ง เผ่าโกล (Gaule) ผู้มี "ไก่" เป็นสัญลักษณ์ ทั้งนี้จากการเล่นคำ Gaulois เมื่อออกเสียงเป็นภาษาละติน เป็นคำว่า Gallus (กัลลุส) แปลว่า ไก่ตัวผู้           อดีตกาลชนกลุ่มนี้ย้ายถิ่นฐานไปหลายแห่ง แต่ในที่สุดพวกเขาตัดสินใจหยุดและตั้งถิ่นฐานถาวรในบริเวณที่เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ขณะที่ชนชาติที่ทรงอำนาจที่สุดในเวลานั้นคือชาวโรมันแห่งโรม ความยิ่งใหญ่ทำให้ชนชาตินี้มั่นใจว่าตนเป็นชนชั้นปกครอง และมีอารยธรรมสูงกว่าชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ที่ยังไม่สามารถรวมกันเป็นอาณาจักรและมีระบบการปกครองแบบชาวโรมันได้ ประกอบกับมีกองทัพขนาดใหญ่ อาวุธทันสมัยที่สุด ชาวโรมันจึงครอบครองดินแดนทั่วทวีปยุโรปได้ และสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่เคยมีชนกลุ่มใดทำได้มาก่อน ทั้งนี้ ภาษาสากลของยุโรปยามนั้นคือภาษาละติน ที่ชนเผ่าใต้อาณัติทุกกลุ่มต้องสื่อสารได้           ชาวโรมันนี่เองที่เรียกพวก...

แบบจำลองอะตอม

แบบจำลองอะตอม วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้ แบบจำลองอะตอมของดอลตัน แบบจำลองอะตอมของทอมสัน แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอรด์ แบบจำลองอะตอมของโบร์ แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก แบบจำลองอะตอมของดอลตัน เป็น "ทรงกลมตันมีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้" ทฤษฎีอะตอมของจอห์นดอลตัน 1. สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า "อะตอม" 2. อะตอมจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ 3. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ 4. อะตอมของธาตุต่างกันจะมีสมบัติต่างกัน 5. ธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ โดยมีอัตราส่วนการรวมตัวเป็นตัวเลขอย่างง่าย เช่น CO CO2 แบบจำลองอะตอมของทอมสัน 1. อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม 2. อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ อนุภาคโปรตรอนมีประจุเป็นบวก 3. อะตอมจะมีโปรตรอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า เพราะ มีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด "อะตอมจะประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมตัวกันอยู่อย่างหน...