ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Maastricht

สนธิสัญญามาสทริชต์ 
 สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกภายหลังสงครามโลกครั้งที่  2  โดยการทำสนธิสัญญามาสทริชต์  (Treaty  of  Maastricht)  ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์  เพื่อก่อตั้งสหภาพยุโรป  ที่มีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายน  ค.ศ. 1993

       ความคิดในเรื่องการบูรณาการยุโรปมีมานานับศตวรรษ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่  2  สิ้นสุดลง  ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ยุโรปได้รับความเสียหายจากสงครามเพราะมีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนเกือบ  10  ล้านคน  ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะชาติยุโรปต่าง ๆขัดแย้งศัตรูระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี

       นอกจากนี้ยังสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามร่วมกันได้  เพราะบทเรียนที่ชาติยุโรปได้รับก็คือ  แต่เดิมชาติยุโรปต่างแข่งขันด้านเศรษฐกิจ  โดยไม่คำนึงถึงชาติอื่น ๆ  ทั้งนี้เป็นเพราะความรู้สึกเรื่องชาตินิยมทางเศรษฐกิจ  ทำให้ในที่สุดได้กลายเป็นสงครามสู้รบที่นำความเสียหายมาสู่ยุโรปแต่ถ้ายุโรปรวมกันได้ก็จะเกิดการค้าเสรีภายในยุโรปและขจัดอุปสรรคเกี่ยวกับชาติ  ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า  ทุน  แรงงานและบริการและการผลิตสินค้าที่อยู่ในกรอบของภูมิภาคไม่ใช่เป็นการผลิตสินค้าโดยแต่ละประเทศ

       นอกจากนี้การบูรณาการยุโรป  เกิดขึ้นจากความรู้สึกที่ว่าประเทศมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้ามามีอิทธิพลแทรกแซงยุโรปตะวันตก  ซึ่งถ้ายุโรปรวมกันได้ก็จะกลายเป็นพลังอำนาจทัดเทียมกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต

       แผนการบูรณาการยุโรปในตอนแรกเกิดอุปสรรคเนื่องจากสหภาพโซเวียต  ซึ่งมีอิทธิพลเหนือประเทศยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้ประเทศเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปตะวันตก  แต่ผู้นำประเทศยุโรปต่างพยายามแก้ไขปัญหาและดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป  โดยการรวมกลุ่มต่าง ๆ  เช่น  ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป  หรืออีซีเอสซี (European  Coal  and  Steel  Community-ECSC)  ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรืออีอีซี  (European  Economic  Community-EEC)  และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปหรือยูราตอม (European  Atomic  Energe  Community  :  Euratom)  การรวมกลุ่มต่าง ๆเหล่านี้ได้พัฒนาเป็นการรวมกลุ่มที่เรียกว่า  สหภาพยุโรปหรืออียูในที่สุด  โดยมีสมาชิกก่อตั้ง  15  ประเทศ  ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิก  25  ประเทศ
รายชื่อสมาชิกสหภาพยุโรป  25 ประเทศ
  1.  ออสเตรีย                
  2.  เบลเยียม
  3.  เดนมาร์ก                
  4.  ฟินแลนด์
  5.  ฝรั่งเศส                
  6.  เยอรมนี
  7.  กรีซ                
  8.  ไอร์แลนด์
  9.  อิตาลี                
10.  ลักเซมเบิร์ก
11.  เนเธอร์แลนด์                
12.  โปรตุเกส
13.  สเปน                
14.  สวีเดน
15.  สหราชอาณาจักร                
16.  ไซปรัส                        
17.  เช็ก                
18.  เอสโตเนีย
19.  ฮังการี                
20.  ลัตเวีย
21.  ลิทัวเนีย                
22.  มอลตา 
23.  โปแลนด์                
24.  สโลวีเนีย
25.  สโลวะเกีย

หลักการสำคัญ  3  ประการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชาติตะวันตก  ซึ่งระบุไว้ในสนธิสัญญมาสทริชต์

1.  ประชาคมยุโรป  (the  European  Communities)  ประกอบด้วย
-  การเป็นตลาดเดียว  (Single  Market)  ที่

สถานะและความสำคัญของสหภาพยุโรปในสังคมโลก
       -  ด้านการเมืองการปกครอง  สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง  ความมั่นคง  เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก
       -  ด้านเศรษฐกิจ  สหภาพยุโรปเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก  เป็นตลาดสินค้าและบริการ  ตลาดการเงินและแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุดและเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด
       ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีบทบาทสำคัญต่อสังคมโลกมาก  โดยมุ่งเน้นในด้านเศรษฐกิจซึ่งสามารถมีอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆได้  และการรวมตัวในนามสหภาพยุโรปยังได้มีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ  ที่กำลังพัฒนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเช่นกรณีประเทศไทย


มีการเคลื่อนที่อย่างเสรีของปัจจัย  4  ประการ  (free  movement)  คือ  บุคคล  สินค้า  การบริการ  และทุน
-  การมีนโยบายร่วม  (Common  Policies)  ในด้านการค้าการเกษตร  พลังงานสิ่งแวดล้อมและสังคม  เป็นต้น

       สหภาพเศรษฐกิจและการเงิน  (Economic  and  Monetary  Union)  มีธนาคารกลางยุโรป  และมีการใช้เงินสกุลเดียว  (เงินยูโร)  อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่  1  มกราคม  ค.ศ. 2002

2.  นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง  (Common  Foreign  and  Security  Policy-CFSP) 

3.  ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน  (Cooperation  in  Justice  and  Home  Affairs)  เช่น 
การปราบปรามอาชญากรรมและสารเสพติดและการดำเนินการร่วมด้านความมั่นคงภายใน
สถานะและความสำคัญของสหภาพยุโรปในสังคมโลก
       -  ด้านการเมืองการปกครอง  สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง  ความมั่นคง  เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก
       -  ด้านเศรษฐกิจ  สหภาพยุโรปเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก  เป็นตลาดสินค้าและบริการ  ตลาดการเงินและแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุดและเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด

       ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีบทบาทสำคัญต่อสังคมโลกมาก  โดยมุ่งเน้นในด้านเศรษฐกิจซึ่งสามารถมีอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆได้  และการรวมตัวในนามสหภาพยุโรปยังได้มีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ  ที่กำลังพัฒนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเช่นกรณีประเทศไทย
ผลกระทบของการรวมกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีต่อเศรษฐกิจไทย
       สหภาพยุโรปเป็นตลาดใหญ่ที่รองรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย  เช่น  ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง  สิ่งทอ  และอาหาร  เป็นต้น  การรวมกลุ่มจึงมีผลกระทบต่อไทย  ดังนี้

       -  การปรับกฎระเบียบในแนวทางเดียวกัน  ทำให้สหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดใหญ่  มีผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อสูง  และมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น  ทำให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดนี้ได้ยากขึ้น

       -  สหภาพยุโรปมีความแข็งแกร่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง  ส่งผลให้การส่งออกของไทยต้องประสบปัญหาการแข่งขันเพิ่มขึ้น

       -  การปับระบบการเงินเข้าด้วยกัน  ไทยอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนภายในสหภาพยุโรปในระยะแรก  แต่ในระยะยาวเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้น  จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย

       -  การใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ  เงินยูโร  ทำให้ไทยลดต้นทุนการส่งออกในด้านค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

       -  กรณีที่ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรปมีปัญหา ทำให้เกิดผลกระทบต่อประเทศคู่ค้ารุนแรงในอดีต  เนื่องจากเป็นการรวมตัวของ  25  ประเทศสมาชิก

       -  การรวมตัวของสหภาพยุโรป  จะจงดูดให้มีการลงทุนในสหภาพยุโรปเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมั่นใจในความมั่นคงของระบบการเงิน  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภูมิภาคอื่น ๆรวมทั้งประเทศไทย
ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการรวมกลุ่มสหภาพยุโรปควรมีทิศทางในการปรับตัว
       -  ศึกษา  วิเคราะห์  ผลกระทบจากกฎระเบียบของสหภาพยุโรปในด้านต่าง ๆเพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสหภาพยุโรป
       -  เพิ่มมาตรการ  เพื่อขยายการค้าและกรลงทุนระหว่างกันและสนับสนุนภาคเอกชนใน   การเข้าร่วมลงทุนกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป
       -  เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าของไทย  ให้เป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรปและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

Maastricht

Sauter à la navigationSauter à la recherche
Maastricht
Blason de Maastricht
Héraldique.
Drapeau de Maastricht
Drapeau
Maastricht
Administration
PaysDrapeau des Pays-Bas Pays-Bas
ProvinceDrapeau de la province de Limbourg Limbourg
Bourgmestre
Mandat
Annemarie Penn-te Strake
2015-en cours
Code postal6200-6229
Indicatif téléphonique+(31)43
Démographie
GentiléMaastrichtois
Maastrichtenaar (nl)
Mestreechteneer (li)
Population122 017 hab.2
Densité2 032 hab./km2
Géographie
Coordonnées50° 51′ 00″ nord, 5° 41′ 00″ est
Superficie6 006 ha = 60,06 km2
Divers
Dialecte localmaastrichtois
HymneMestreechs Volksleed
Localisation
Localisation de Maastricht
Liens
Site webwww.maastricht.nl [archive]
Maastricht (prononcé en néerlandais [maːˈstrɪx Écouter ou [maːˈstʁɪçt] en néerlandais méridionalN 1 – appelée en limbourgeois dont le maastrichtoisMestreech, prononcé [məˈstʁeːç] ; en français, désuet, Maëstricht ouMaestrichtN 2 ; et en espagnol, également désuet, Mastrique) est une ville desPays-Bas, située dans le sud de la province du Limbourg dont elle est le chef-lieu.
Maastricht s'est développée à partir d'une colonie romaine en un centre religieux, puis en une ville de garnison et enfin en une ville pré-industrielle3. La ville est désormais connue pour être une cité d'histoire, de culture, de folklore local et d'éducation4. De plus, la ville est connue pour être le lieu de signature du traité de Maastricht, lieu de naissance de l'Union européenne, de lacitoyenneté de l'Union européenne et de la monnaie unique, l'euro5,6. La ville est connue des touristes pour ses magasins et ses espaces de détente. Une population importante et croissante d'étudiants étrangers y séjourne. Maastricht fait partie du réseau des plus anciennes villes d'Europe7.
Les habitants de Maastricht sont, en français, des Maastrichtois. En néerlandais, ils sont appelés Maastrichtenaars et en limbourgeois (dont le maastrichtois) Mestreechteneers ou, plus familièrement Sjenge (dérivé du prénom français « Jean »).
Enfin, Maastricht est la seule ville des Pays-Bas citée dans l'hymne national néerlandais, le Wilhelmus van Nassouwe.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงาน IS1

                                         โครงงาน IS1                      เรื่อง       การเรียนภาษาที่สองให้ประสบความสำเร็จ                                                                    จัดทำโดย                                                   นส. สานันทินี แก้วพวง เลขที่ 10                                                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่...

สัตว์ประจำชาติ

สัตว์ประจำชาติ           สืบเนื่องจากชาวฝรั่งเศสทุกวันนี้ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชาวโกลัวส์ (les Gaulois) แห่ง เผ่าโกล (Gaule) ผู้มี "ไก่" เป็นสัญลักษณ์ ทั้งนี้จากการเล่นคำ Gaulois เมื่อออกเสียงเป็นภาษาละติน เป็นคำว่า Gallus (กัลลุส) แปลว่า ไก่ตัวผู้           อดีตกาลชนกลุ่มนี้ย้ายถิ่นฐานไปหลายแห่ง แต่ในที่สุดพวกเขาตัดสินใจหยุดและตั้งถิ่นฐานถาวรในบริเวณที่เป็นเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ขณะที่ชนชาติที่ทรงอำนาจที่สุดในเวลานั้นคือชาวโรมันแห่งโรม ความยิ่งใหญ่ทำให้ชนชาตินี้มั่นใจว่าตนเป็นชนชั้นปกครอง และมีอารยธรรมสูงกว่าชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ที่ยังไม่สามารถรวมกันเป็นอาณาจักรและมีระบบการปกครองแบบชาวโรมันได้ ประกอบกับมีกองทัพขนาดใหญ่ อาวุธทันสมัยที่สุด ชาวโรมันจึงครอบครองดินแดนทั่วทวีปยุโรปได้ และสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่เคยมีชนกลุ่มใดทำได้มาก่อน ทั้งนี้ ภาษาสากลของยุโรปยามนั้นคือภาษาละติน ที่ชนเผ่าใต้อาณัติทุกกลุ่มต้องสื่อสารได้           ชาวโรมันนี่เองที่เรียกพวก...

แบบจำลองอะตอม

แบบจำลองอะตอม วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้ แบบจำลองอะตอมของดอลตัน แบบจำลองอะตอมของทอมสัน แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอรด์ แบบจำลองอะตอมของโบร์ แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก แบบจำลองอะตอมของดอลตัน เป็น "ทรงกลมตันมีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้" ทฤษฎีอะตอมของจอห์นดอลตัน 1. สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า "อะตอม" 2. อะตอมจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ 3. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ 4. อะตอมของธาตุต่างกันจะมีสมบัติต่างกัน 5. ธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ โดยมีอัตราส่วนการรวมตัวเป็นตัวเลขอย่างง่าย เช่น CO CO2 แบบจำลองอะตอมของทอมสัน 1. อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม 2. อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ อนุภาคโปรตรอนมีประจุเป็นบวก 3. อะตอมจะมีโปรตรอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า เพราะ มีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด "อะตอมจะประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมตัวกันอยู่อย่างหน...